ยินดีต้อนรับ...

งานวิชาการโรงเรียนบ้านสะเดา ขอขอบพระคุณท่านที่กรุณามาเยี่ยมชม..โรงเรียนบ้านสะเดา" น่าอยู น่าเรียน น่ารัก"..มุ่งมัน สร้างสรรค์ เป็น"โรงเรียนดีประจำตำบล"

วันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ถวายอาลัย เจ้าฟ้าเพชรรัตน์

ขอถวายอาลัย ส่งเสด็จสู่สวรรคาลัย สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี สิ้นพระชนม์ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ณ โรงพยาบาลศิริราช สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ได้เสด็จประทับรักษาพระอาการติดเชื้อในกระแสพระโลหิต ณ ตึก 84 ปี ชั้น 5 โรงพยาบาลศิริราช ตั้งแต่วันที่ 13 ก.ค.54



เมื่อเวลา 20.00 น. วันที่ 27 กรกฎาคม สำนักพระราชวังออกประกาศสำนักพระราชวัง เรื่อง สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี สิ้นพระชนม์ ความว่า สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ได้เสด็จประทับรักษาพระอาการติดเชื้อในกระแสพระโลหิต ณ ตึก 84 ปี ชั้น 5 ด้านตะวันออก โรงพยาบาลศิริราช ตั้งแต่วันที่ 13 กรกฎาคม 2554

แม้คณะแพทย์ได้ถวายการรักษาอย่างใกล้ชิดจนสุดความสามารถ พระอาการประชวรได้ทรุดลงตามลำดับ และสิ้นพระชนม์ เมื่อเวลา 16 นาฬิกา 37 นาที วันที่ 27 กรกฎาคม 2554 รวมพระชันษา 85 ปี

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สำนักพระราชวังจัดการพระศพ ถวายพระเกียรติยศสูงสุดตามราชประเพณี ประดิษฐานพระศพ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าทูลละอองธุลีพระบาทในราชสำนักไว้ทุกข์ถวายมีกำหนด 100 วัน ตั้งแต่วันสิ้นพระชนม์เป็นต้นไป

อนึ่ง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประชาชนเข้า ถวายน้ำสรงพระศพหน้าพระฉายาลักษณ์ ซึ่งประดิษฐาน ณ ศาลาสหทัยสมาคม ในพระบรมมหาราชวัง ตั้งแต่เวลา 13.00 น. ถึงเวลา 16.00 น. วันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎาคม 2554
จึงประกาศมาเพื่อทราบโดยทั่วกัน


 พระประวัติ
นิตยสารสกุลไทย ฉบับวันที่ 2 ธันวาคม 2540 เขียนถึงพระประวัติสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ว่า เป็นพระราชธิดาพระองค์เดียวในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และ พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ประสูติเมื่อวันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ.2468 ในพระที่นั่งเทพสถานพิลาส ซึ่งอยู่เบื้องหลังของพระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง
เพียง 2 วันที่พระองค์ประสูติ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต เมื่อเวลา 1 นาฬิกา 45 นาที ของวันที่ 26 พฤศจิกายน ณ พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง

เมื่อทรงพระเยาว์ได้เสด็จไปทรงศึกษาที่โรงเรียนราชินี จนมีพระชันษา 13 ปี จึงเสด็จไปทรงศึกษาในประเทศอังกฤษ เมื่อเดือนมีนาคม 2480 การศึกษาของพระองค์ในประเทศอังกฤษ เน้นไปทางภาษาอังกฤษและดนตรี ทรงมีพระอัจฉริยะในการแสดงเปียโนเป็นอย่างยิ่ง ส่วนวิชาอื่นๆ โปรดวิชาภูมิศาสตร์ นอกจากนี้ ยังมีความสามารถในการคำนวณปฏิทินอย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องใช้กระดาษเขียน เช่น ทูลถามว่า วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2423 ตรงกับวันอะไร จะทรงตอบได้โดยเร็วว่า วันเสาร์ และจะทรงบอกได้ว่า มี พ.ศ.ใดอีกในวันที่ 1 มกราคม และจะตรงกับวันเสาร์ใดในปีปัจจุบัน ทรงคำนวณปฏิทินระหว่าง 300-400 ปี ทั้งที่ล่วงมาแล้วและในอนาคต ทรงมีความจำแม่นยำมากในเรื่องตัวเลข

สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ประทับอยู่ในประเทศอังกฤษในช่วงที่เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 และกลับสู่กรุงเทพฯ เมื่อ พ.ศ.2502 รวมเวลาที่ประทับในต่างประเทศ 22 ปี ทรงสร้างวังที่ซอยสันติสุข ถนนสุขุมวิท ประทานนามว่า วังรื่นฤดีŽ เหมือนชื่อวังแห่งแรกที่ถนนสุโขทัย

การเสด็จกลับมาประทับในประเทศไทย นับเป็นเป็นการเปลี่ยนแปลงความเป็นอยู่ครั้งใหญ่ของพระองค์ ความมีอิสระและเวลาส่วนพระองค์น้อยลง ทรงอุทิศเวลาให้สังคมและประโยชน์ส่วนรวม

พระราชกิจที่ทรงบำเพ็ญอยู่แยกได้ 3 ทาง คือ 1.พระราชกิจเนื่องด้วยพระบรมชนกนาถ เช่น กิจการลูกเสือ เนตรนารี กรมการรักษาดินแดน โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย

2.พระราชกิจสืบเนื่องของสมเด็จพระอัยยิกาเจ้า สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กล่าวคือ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ทรงสร้างสถาบันการศึกษาไว้ในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดหลายแห่ง ได้แก่ โรงเรียนราชินี โรงเรียนเสาวภา วิทยาลัยพยาบาลศิริราชพยาบาล โรงเรียนจอมสุรางค์อุปถัมภ์ จ.พระนครศรีอยุธยา นอกจากนี้ พระองค์ทรงตั้งมูลนิธิสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ เพื่อเป็นประโยชน์ทางการศึกษา โดยให้ทุนแก่นักเรียนที่เรียนดีในสถาบันดังกล่าว

3.ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์กิจการเกี่ยวกับสังคมสงเคราะห์ การศึกษา และการทหาร และพระศาสนาประมาณ 18 องค์การ

เมื่อ พ.ศ.2512 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระยศทหารเป็นพันโท ราชองครักษ์พิเศษ และผู้บังคับพิเศษ กองพันที่ 2 กรมผสมที่ 5 จังหวัดนครศรีธรรมราช (ปัจจุบัน คือ กองพันที่ 2 กรมทหารราบที่ 15) และต่อมา พ.ศ.2525 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นนายทหารพิเศษประจำกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์
ใน พ.ศ.2528 เมื่อพระองค์ทรงเจริญพระชนมายุครบ 60 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินไปในการบำเพ็ญพระราชกุศลพระราชทาน ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานน้ำพระมหาสังข์ และเหรียญรัตนาภรณ์ชั้นที่ 1 ตลอดพระราชทานเลี้ยงพระกระยาหารกลางวันที่พระที่นั่งบรมพิมาน และทรงร่วมโต๊ะเสวยด้วย

พ.ศ.2533 ได้รับพระราชทานเลื่อนพระยศทหารเป็น พันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก และโปรดเกล้าฯให้เป็นนายทหารพิเศษประจำกรมทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์ ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว กรมนักเรียนนายร้อยรักษาพระองค์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า กรมนักเรียนนายเรือรักษาพระองค์ โรงเรียนนายเรือ และกรมนักเรียนนายเรืออากาศรักษาพระองค์ โรงเรียนนายเรืออากาศ กับได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ

พ.ศ.2534 สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ถวายปริญญาคหกรรมบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขาพัฒนาการครอบครัวและเด็ก โดยที่ทรงบำเพ็ญพระกรณียกิจในด้านการส่งเสริมความสุขของเด็ก และพัฒนาการครอบครัวอย่างเด่นชัด อันได้แก่ การที่ทรงอุปถัมภ์กิจการเนตรนารี อนุกาชาด อาสากาชาด และทรงส่งเสริมการศึกษาในสถาบันต่างๆ

สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี มีพระจริยวัตรงดงาม ทรงเปี่ยมด้วยพระเมตตา ทรงรักษาศีล 5 ได้อย่างบริสุทธิ์ และที่สำคัญยิ่ง ทรงมีพระกตัญญูต่อสมเด็จพระบรมชนกนาถและพระชนนีเป็นอย่างยิ่ง จะทรงตั้งเครื่องสังเวยพระกระยาหารกลางวันทุกเวลากลางวัน และทรงจัดดอกไม้จุดธูปเทียนบูชา พระบรมทนต์และพระบรมอัฐิสมเด็จพระบรมชนกนาถและพระชนนีทุกเวลาค่ำ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น