นโยบาย ๖ เดือน ๖ คุณภาพ และนโยบาย 777
นโยบาย ๖ เดือน ๖ คุณภาพ.....
นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยผลการประชุมผู้บริหารองค์กรหลัก ครั้งที่ ๒๓/๒๕๕๓ เมื่อวันที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๓ ณ ห้องประชุมกระทรวงศึกษาธิการ โดยกล่าวถึงจุดเน้นของ ศธ.ในการดำเนินงานตามเป้าหมายการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง ตามนโยบาย ๖ เดือน ๖ คุณภาพ ดังนี้
นโยบาย ๖ เดือน ๖ คุณภาพ.....
นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยผลการประชุมผู้บริหารองค์กรหลัก ครั้งที่ ๒๓/๒๕๕๓ เมื่อวันที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๓ ณ ห้องประชุมกระทรวงศึกษาธิการ โดยกล่าวถึงจุดเน้นของ ศธ.ในการดำเนินงานตามเป้าหมายการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง ตามนโยบาย ๖ เดือน ๖ คุณภาพ ดังนี้
๑) เรียนฟรี ๑๕ ปีอย่างมีคุณภาพ จะมีการนำเงินงบประมาณ ๘ หมื่นล้านบาท ในปีงบประมาณ ๒๕๕๔ ดำเนินการให้ลงไปสู่สถานศึกษาอย่างแท้จริง โดยให้กรรมการสถานศึกษาและผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการบริหารงบประมาณเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ที่ประชุมได้มอบหมายให้ สพฐ. จัดวางระบบ เพื่อให้ผู้ปกครองและกรรมการสถานศึกษาเข้ามาร่วมกับผู้บริหารสถานศึกษา ในการพิจารณากรอบการใช้จ่ายงบประมาณของสถานศึกษา เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
๒)การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง ศธ.จะประกาศชัดเจนว่าผู้เรียนในแต่ละระดับ ควรมีจุดเน้นในการพัฒนาอย่างไร เพื่อให้เป็นเป้าหมายที่ประชาชนได้เห็นอย่างชัดเจนและมีส่วนร่วมในการพัฒนาผู้เรียนต่อไป โดยการศึกษาในระดับปฐมวัยก็จะเน้นในเรื่องการพัฒนาคุณภาพสมองเด็กไทยให้ได้รับสารไอโอดีน และมีคุณลักษณะใฝ่รู้ ใฝ่เรียน ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานก็จะมีการเน้นเป็นช่วงชั้นอย่างชัดเจน เช่น ป.๑-ป.๓ จะเน้นให้มีการอ่านออกเขียนได้ คิดเลขเป็น ใฝ่ดี มีวินัย มีความรับผิดชอบ, ป.๔-ป.๖ จะเน้นที่การอ่านคล่องเขียนคล่อง มีทักษะในการคิดขั้นพื้นฐาน มีทักษะชีวิตเพื่อการศึกษาอย่างสร้างสรรค์ ใฝ่ดี ใฝ่รู้ มีจิตสาธารณะ, ม.๑-ม.๓ มีทักษะในการคิดชั้นสูง มีทักษะชีวิต รู้จักการแก้ไขปัญหา ใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้และแสวงหาความรู้ คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น และอยู่อย่างพอเพียง, ม.๔-ม.๖ มีทักษะในการคิดชั้นสูง ทักษะชีวิตในการแก้ปัญหา การใช้เทคโนโลยี การรักการเรียนรู้ การค้นพบตัวเอง การแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง การใช้ภาษาต่างประเทศเพื่อการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของระดับนี้คือ มีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ มีความมุ่งมั่น มีความเป็นพลเมืองดี ระดับอาชีวศึกษาจะมุ่งเน้นการพัฒนาฝีมือแรงงานที่มีคุณภาพ มีทักษะชีวิต และทักษะอาชีพ มีความสามารถทางด้านเศรษฐกิจ ระดับมหาวิทยาลัยมุ่งเน้นด้านความเป็นเลิศทางวิชาการ และส่งเสริมศักยภาพในการแข่งขัน มุ่งเน้นเรื่องสหกิจศึกษา โดยจะให้มหาวิทยาลัยมีส่วนร่วมกับภาคเอกชน ให้มหาวิทยาลัยสนองตอบต่อการช่วยเหลือสังคมโดยมี ๑ มหาวิทยาลัย ๑ จังหวัด โดยจุดเน้นดังกล่าวจะมีการประกาศจุดเน้นและจัดกิจกรรมในวันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๓
๓) คุณภาพการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน ให้ กศน.ตำบลเป็นศูนย์การเรียนรู้ชุมชนตลอดชีวิต ให้ กศน. ตำบลเป็นการศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย ที่เป็นการเรียนฟรี สำหรับประชาชนวัยทำงาน ๓๐ ล้านคน และเป็นศูนย์การเรียนรู้ชุมชนของประชาชนนอกระบบทั้งหมด สามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลา ส่งเสริมเรื่องทักษะชีวิต และความเป็นพลเมือง โดยจะมีการประกาศในวันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๓
) คุณภาพสถานศึกษายุคใหม่ จะมุ่งเน้นเรื่องโรงเรียนดีประจำตำบล ด้านคุณภาพ ความเสมอภาค และความร่วมมือจากประชาชนทุกภาคส่วน โดยใช้ยุทธศาสตร์ ๗๗๗ ซึ่งจะประกาศในวันที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ดังนี้ - ๗ แรก ในการดำเนินการแรก คือ การพัฒนาโรงเรียนดีประจำตำบลใน ๔ เดือนแรก มีเป้าหมายในการดำเนินการ ๗ประการ ได้แก่ ๑.มีแผนงานในการพัฒนาที่ชัดเจน ๒.มีเป้าหมายในการพัฒนาที่ชัดเจน ๓.โรงเรียนมีความสะอาด ๔.มีบริเวณโดยรอบร่มรื่น ๕.มีบรรยากาศอบอุ่น ๖.มีความปลอดภัย
๗.ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของ -
๗ ที่สอง คือ การพัฒนาใน ๔ เดือนต่อมา ที่จะมีการพัฒนา ๗ ประการ ได้แก่ ๑.มีห้องสมุด ๓ ดี ๒.มีห้องปฏิบัติการ ๓.มีศูนย์การเรียนรู้อาชีพ ๔.มีศูนย์กีฬาชุมชน ๕.มีห้องสุขาที่ถูกสุขลักษณะ ๖.มีครูที่ใช้แหล่งเรียนรู้และใช้ไอซีที ๗.มีการบริหารที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลง -
๗ ประการสุดท้าย จะเป็นคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ได้แก่ ๑.มี ร.ร.ที่มีชื่อเสียงดี มีความพร้อมที่จะเป็นโรงเรียนดีใกล้บ้าน ๒.มีนักเรียนที่ใฝ่รู้ ๓.มีนักเรียนใฝ่เรียน ๔.มีนักเรียนใฝ่ดี ๕.มีความเป็นไทย ๖.มีสุขภาพดี และ ๗.รักการอ่าน ๕) เทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา ศธ.จะมีการจัดต้องกองทุนเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการศึกษา เพื่อดำเนินการให้ไปเป็นไปตามนโยบายของ ศธ. โดยในครั้งแรกรัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณให้จำนวน ๕ ล้านบาท กทช.สนับสนุนให้อีก ๗๕ ล้านบาท ขณะนี้ได้ดำเนินการเปิดบัญชีกองทุนแล้ว โดยในการประชุมคณะกรรมการกองทุน รมว.ศธ ได้มอบหมายทั้งหมด ๔ เรื่อง คือ - เรื่องกฎหมายในการจัดตั้งสถาบันเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา - การดำเนินการกองทุนให้มีสำนักงานกองทุนที่ชัดเจน - บูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดให้มาทำงานร่วมกัน เพื่อที่จะยกระดับเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา - จัดกิจกรรมเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา พัฒนาการศึกษาตามเป้าหมายการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง โดยยึดหลัก ๓N ได้แก่ Ned Net โครงข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ NEIS ศูนย์กลางรวบรวม จัดเก็บ และเชื่อมโยงข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษา NLC ศูนย์เรียนรู้แห่งชาติ เพื่อสนองตอบต่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน พัฒนาการศึกษา เพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ๖)คุณภาพครู จะมีการพัฒนาคุณภาพครูทั้งระบบ ทั้งการผลิต การพัฒนาการใช้ การพัฒนาค่าตอบแทน การแก้ไขปัญหาหนี้สินครู การยกระดับมาตรฐานวิชาชีพครู โดยในช่วง ๖ เดือนที่ผ่านมา ถือว่ามีการพัฒนาไปมากพอสมควร ทั้งเรื่องการปรับฐานเงินเดือน การแก้ไขกฎ ก.ค.ศ.เพื่อให้ครูชั้นผู้น้อยได้มีค่าตอบแทนเพียงพอและเหมาะสมกับวิชาชีพ การแก้ไขกระบวนการในการดูแลเรื่องวิทยฐานะของครู โดยในปีงบประมาณ ๒๕๕๔ จะมีการพัฒนาครูอย่างเข้มข้น เช่น การคืนครูให้นักเรียน การพัฒนาครูแนวใหม่ การประเมินวิทยฐานะแบบเน้นผลงาน
ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
ตอบลบ